ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก

 

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 ระยะ ระยะที่ 1 การยกร่างรูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และระยะที่ 3 การขยายผลการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การวิจัยเริ่มต้นใน พ.ศ. 2554 – 2555 เป็นการดำเนินงานในระยะที่ 1 และ 2
ระยะที่ 1 การยกร่างรูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทโรงเรียนเป้าหมาย ความต้องการในการพัฒนาของครูและผู้บริหารสถานศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน 300 คน ในเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี 5 แห่ง เครื่องมือได้แก่ กรอบแนวทางการสนทนากลุ่ม แบบสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรและแบบสอบถามสมรรถภาพของครูและผู้บริหาร การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณให้สถิติพื้นฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพนำข้อมูลมาถอดความ วิเคราะห์เนื้อหา จำแนกประเภทข้อมูลและหาความสัมพันธ์โดยวิธีอุปนัย ผลการวิจัยได้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของแต่ละโรงเรียน และกลไกและเครือข่ายการพัฒนาครูและผู้บริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก
ในปี พ.ศ. 2555 การดำเนินงานในระยะที่ 2 เป็นการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผลการวิจัยและพัฒนาในระยะที่ 2 สรุปได้ดังนี้ฃ
1. ส่วนมากจัดขึ้นตามปัญหา ความต้องการเร่งด่วน และนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ทั้งนี้กิจกรรมการพัฒนาครูที่จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น ครูส่วนมากคิดว่าน่าจะมาจากการจัดการเรียนรู้ที่มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. โรงเรียนทั้ง 5 นำรูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารฯไปใช้ การพัฒนาครูมีสองระยะ คือระยะเปิดภาคเรียนและระยะปิดภาคเรียน
3. การจัดประชุมปฏิบัติการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับในระยะปิดภาคเรียน มีโรงเรียน 4 แห่ง ซึ่งครูส่วนมากพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนได้ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีและนำไปใช้จริง
4. การติดตามประเมินผลและนิเทศแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนทั้ง 5 แห่ง หลังการนำแผนพัฒนาครูและผู้บริหารไปฏิบัติ พบว่าพฤติกรรมของผู้เรียนสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากขึ้น
5. การประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก
6. รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นรากฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ทำให้ครูจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ โดยครูเชื่อมั่นว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้ได้ตามศักยภาพ
7. สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขคือ ครูต้องมีอุดมการณ์ มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ ควรมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง
8. ข้อเสนอแนะ เขตพื้นที่การศึกษาต้องทำหน้าที่ประสานงานเชื่อมโยงอำนวยความสะดวก และควรมีการนิเทศติดตามผลงานของครูและผู้บริหารอย่างต่อเนื่องและขยายเครือข่ายต่อไป


ประยงค์ กลั่นฤทธิ์ (2556) รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 : จังหวัดอุดรธานี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบสารสนเทศเพื่อดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา

ระบบเพื่อดูแล และติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา   ยินดีต้อนรับสู่ ระบบดูเเล เเละติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนบางละมุง  Care and Trace Addiction    ni  School System   CATAS System    ผู้รับผิดชอบดำเนินการ ค้นหา คัดกรอง ตรวจสอบข้อมูลนักเรียนในสถานศึกษาที่มีความเกี่ยวข้อง  กับยาเสพติด CATAS System   คือ                 ระบบสารสนเทศ     เพื่อดูแลและติดตามการใช้สารติด ในสถานศึกษาภายใต้โครงการพัฒนาระบบสารสนทศเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา  เป็นระบบ ที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการบันทึกข้อมูลผู้เกี่ยวข้องกับสารเสพติด (บุหรี่ เหล้า) ผู้ใช้สารเสพติด (เช่น ยาบ้า ยาไอซ์  เฮโรอิน)ผู้สงสัยว่าค้าในสถานศึกษารวมถึการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้เกิดการรายงานข้อมูลอย่างรวดเร็ว  ทันที่ทันใด เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ติตตาม แก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติด เเละยาเสพติดในสถานศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบ CATAS 1. เพื่อให้หน่วยงานที่มีสถานศึกษาได้แก่กระทวงศึกษาธิการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกรุง

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนพญาวัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง เขต 35

Title ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนพญาวัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง เขต 35 Title Alternative Leadership of Education Institutional Administrators of Payawang Group, The secondary Educational Service Area Office 35 Creator Name:   เมทิญา นนท์ศรี Address:  35 หมู่ 9 ตำบลแม่ใส อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา Subject keyword:  ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ;   Leadership of school administrators Description Abstract:  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนพญาวัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง เขต 35 ตามการรับรู้ และความคาดหวังของครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนพญาวัง จำนวน 165 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยพบว่า ครูรับรู้ว่าผู้บริหารสถานศึกษามีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะผู้นำมุ่งงาน อยู่ในระดับมีการปฏิบัติบ่อยครั้ง แต่มีพฤติกรรมที่แสดงอ

Present Obec Award เฉลิมชัย โทบุดดี